นอกจากสตู๊ดเก๋งแล้วยังมีสตู๊ด pickup ด้วยนะครับ |
|
ก็คงจะพอมองเห็นภาพรถยนต์แต่ละยี่ห้อบ้างนะครับ จริงๆ แล้วผมยังมีข้อมูลทางเทคนิคและรูปอีกเพียบ (ยกเว้น มอริสเก๋ง, พลีมัธเก๋ง และ ว้อกซ์ฮอลล์เก๋ง) เช่นรูปรถยนต์ผมมีรูปในยุคก่อนหน้านี้ 5-10 ปี และถอยหลังไปจากยุคนี้อีก 3-5 ปี ข้อมูลทางเทคนิคก็เช่น รุ่นของคาร์บิว อัตราเร่งสูงสุด ขนาดของเครื่องยนต์ที่ใช้ ระยะเบรค หรืออะไรทำนองนี้ แต่ก็ไม่อยากจะนำลงทั้งหมด เพราะนอกจากจะสร้างความง่วงเหงาหาวนอนให้กับทุกท่านแล้ว ยังกินเนื้อที่อีกมากมายมหาศาล เรียกได้ว่าผมเอามาเขียนเป็นพ็อกเก็ตบุ๊คสักเล่มก็ยังได้
เอาเป็นว่าถ้าท่านผู้ใดสนใจในรถรุ่นใดเป็นกรณีพิเศษกรุณา email มาคุยกับผมก็แล้วกัน
จะเห็นว่าผมเลือกนำข้อมูลมาเสนอเพียง 12 ยี่ห้อเท่านั้น จริงๆ ยังมีตกหล่นอีก 2-3 ยี่ห้อแต่ไม่ได้สำคัญอะไร เช่นเฟี๊ยตประทุนที่ใช้เป็นรถแท็กซี่ในสมัยนั้น
ส่วนรายชื่อรถยนต์ในสามเกลอยุคหลังสงครามโลกนั้นมีเยอะมาก ผมรวบรวมได้ดังต่อไปนี้คือ คาดิลแลคเก๋ง, เฟี๊ยตเก๋ง, ดอดจ์เก๋ง, บูอิคเก๋ง, แน๊ชเก๋ง, โอลสโมบิลส์, เดอโซโต้, แพ็คการ์ดเก๋ง, ปอนเตี๊ยก, ไคร้สเลอร์เก๋ง เป็นต้น
มีอีกเรื่องหนึ่งที่อยากจะตั้งเป็นข้อสังเกตก็คือ ในสมัยนั้นการขับรถ 45 mph (72 km/h) ก็ถือว่าเร็วอย่างบ้าระห่ำแล้ว ก็ไม่ทราบว่าเป็นเพราะถนนในสมัยนั้นไม่ดี
ถนนโล่งเกินไป หรือความไม่เคยชินกันแน่
สุดท้ายนี้ท่านผู้ใดที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในรถโบราณทั้ง 12 ยี่ห้อที่กล่าวมานี้ แต่ไม่ได้มีโอกาสโคจรมาพบกับผมก่อนที่ผมจะทำไร้สาระนิพนธ์ชุดนี้ และเห็นว่ามีข้อมูลอันใดคลาดเคลื่อน ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเมืองไทย สมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง กรุณา email แจ้งให้ผมทราบด้วย จะเป็นพระคุณอย่างสูง
Webmaster
2 August 1998